บทความนี้ มีมี่สรุปมาจากหนังสือ “The Bullet Journal Method” ที่เขียนโดยคุณ Ryder Carroll ผู้ที่คิดวิธีจดบันทึกแบบบูโจที่โด่งดังไปทั่วโลก
เพราะว่าหลักสำคัญของการบันทึกแบบ Bullet Journal คือการใช้เทคนิคบันทึกเร็ว (Rapid Logging) เพื่อให้เราจดข้อมูลเฉพาะที่เป็นเนื้อหาหลัก ทำให้จดได้ไว ใช้เวลาไม่นาน และมีระบบที่ช่วยแยกประเภทเนื้อหาต่างๆให้ดูง่าย สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ค่ะ
ต้องเขียนอะไรบ้าง ?
1. Topic
เริ่มโดยการเขียน “หัวข้อ” ก่อนที่จะเขียนเนื้อหาอื่นๆ เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตเรื่องที่จะเขียน ไม่ให้ปนกันมั่ว
การกำหนดหัวข้อ จะช่วยให้เราได้หยุดคิดก่อนที่จะลงมือทำจริง ว่าต้องใส่อะไรในหัวข้อนั้นๆบ้าง จุดประสงค์เพื่ออะไร และมันเพิ่มคุณค่าใดให้ชีวิตเรา เพื่อจะได้ตัดทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปให้เราโฟกัสเฉพาะหัวข้อนั้นเท่านั้น
โดยแต่ละหัวข้ออาจจะอยู่แยกหน้ากัน หรืออยู่ในหน้าเดียวกันก็ได้นะคะ
2. Page Numbers
ใส่เลขหน้ากำกับ เพื่อเอาไปทำสารบัญ จะได้เปิดหาหน้าที่มีหัวข้อที่ต้องการได้ไว
ถ้าเปรียบหัวข้อเป็นเหมือนสถานที่ และเลขหน้าเป็นที่อยู่ เราก็สามารถหาเจอได้ง่ายๆไม่หลงทาง
หากใช้สมุดที่มีเลขหน้าให้อยู่แล้ว ก็จะช่วยประหยัดเวลาเขียนเลขหน้าเองได้เยอะเลย ตัวอย่างเช่นสมุด Dot Journal : Classic Collection ของร้าน Mimi’s Plan เองก็มีเลขหน้ากำกับให้เรียบร้อยค่ะ
3. Short Sentences
ประโยคที่เขียนควรอยู่ในรูปแบบที่สั้นกระชับ และชัดเจน โดยตัดสิ่งที่ไม่สำคัญทิ้งไป ให้เหลือแต่เนื้อๆเท่านั้น
เพื่อที่เราจะได้อ่านง่ายขึ้น สมองประมวลข้อมูลได้เร็วขึ้น เหมาะกับวิถีชีวิตปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วและมีข้อมูลมากมายค่ะ
ตัวอย่างบันทึกแบบเดิม ยาวๆอ่านยาก
แต่ถ้าใช้เทคนิคบันทึกเร็ว จะเห็นว่าใช้คำคำน้อยลงไปเกือบ 44% และอ่านง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ
นอกจากนี้ เราสามารถใช้ตัวย่อ ช่วยย่นประโยคก็ได้นะคะ เช่น
- ตัวอย่าง > ต.ย.
- ความ > ค.
4. Bullet / Key
ปกติเราจะเขียนรายการต่างๆ เรียงลงมาเป็นข้อๆตามลำดับเวลาใช่ไหมคะ แต่ว่านั่นอาจทำให้งานและโน๊ตต่างๆปนกันมั่ว จึงควรมีสัญลักษณ์ไว้แบ่งประเภทข้อมูลที่เราเขียนอีกที โดยวางไว้หน้าประโยคที่เราเขียนได้เลย
สามาถกำหนดสัญลักษณ์ (Bullet / Key) เองได้ตามความชอบเลยนะคะ
โดยหากยึดตามหนังสือ Bullet Journal จะมีดังนี้ค่ะ
สัญลักษณ์หลักๆ
1. สัญลักษณ์ จุด “•” แทน Task ไว้เขียนงาน หรือสิ่งที่ต้องทำ เป็นสัญลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ ตามสถานะของงาน เช่น
X กากบาททับ เมื่อทำงานเสร็จ
⎯ ขีดทิ้ง ถ้ายกเลิก
> ทำลูกศรชี้ไปด้านขวา เพื่อเลื่อนงานไปทำวันถัดไป
< ทำลูกศรชี้ไปด้านซ้าย เพื่อเลื่อนงานไปวันอื่นๆ หรือเดือนอื่นๆ
2. สัญลักษณ์ วงกลม “○” แทน Event ไว้เขียนเหตุการณ์ เรื่องที่เกิดขึ้น หรือกำหนดการที่มีวันที่ต่างๆ เช่นวันเกิด วันหยุด
3. สัญลักษณ์ ขีด “⁃” แทน Note ไว้บันทึกเรื่องอื่นๆ เช่นไอเดีย ความคิดเห็น ข่าว ข้อเท็จจริงต่างๆ หรือข้อมูลที่อยากเก็บไว้เพื่อจะได้ไม่ลืม แต่ก็ไม่ได้เร่งด่วนอะไร
สัญลักษณ์อื่นๆ
นอกจากนี้ หากเรามีโน๊ตอะไรที่เขียนซ้ำบ่อย ก็ตั้งสัญลักษณ์ใหม่เพิ่มเองได้ เพื่อจะได้ดูง่ายขึ้นค่ะ เช่น
1. สัญลักษณ์ “♡” แทน gratitude เขียนขอบคุณเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นในวันนั้น
2. สัญลักษณ์ “฿” แทน ค่าใช้จ่าย
3. สัญลักษณ์ “HW” แทน การบ้านที่ต้องส่ง
สัญลักษณ์ Signifier
หรือเครื่องหมายขยายความ ไว้วางหน้าสัญลักษณ์อื่นอีกที เพื่อเพิ่มความเด่น สะดุดตา
เช่น ใช้สัญลักษณ์ “*” แทน Priorty เรื่องสำคัญ ถ้าเรานำไปวางหน้าสัญลักษณ์งาน ก็จะเน้นว่าต้องทำงานนั้นก่อนค่ะ
ตัวอย่าง
• ซักผ้า
* • โพสโปรโมชั่น 11.11
• ไปวิ่งที่สะพานหิน
ก็จะแปลว่ามีมี่ต้องกำโพสโปรโมชั่น 11.11 ก่อนงานอื่นๆค่ะ
การนำไปประยุกต์ใช้
เทคนิคบันทึกเร็ว (Rapid Logging) ใช้จดงาน วางแผน หรือเขียนโน๊ตต่างๆสไตล์ Bullet Journal
หรือไปประยุกต์ใช้จดเรื่องอื่นๆก็ได้นะคะ เช่นสรุปบทเรียน สรุปหนังสือ
หัวข้อ + มีเลขหน้า
หรือทำรายการเรื่องที่เราสนใจ เพื่อเก็บข้อมูลหัวข้อต่างๆเป็นระบบ และเปิดหาง่ายค่ะ โดยอย่าลืมเอาหัวข้อต่างๆไปเก็บในหน้าสารบัญน๊า
ตัวอย่างอันนี้ มีมี่ทำสมุดไว้เทสปากกาแบบต่างๆเป็นตัวอย่างให้ลูกค้า ก็จะมีหน้าสารบัญ(Index) ทำให้มีมี่เปิดหาหน้าที่ต้องการได้เร็ว และข้อมูลแต่ละหน้าก็ขึ้นต้นด้วยหัวข้อใหญ่ๆค่ะ
Pingback: ตัวอย่างการใช้ Mini Bujo 2023 - Mimi's Plan